1. แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้
สรุปนิยาม “การจัดการความรู้”
เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยนและใช้ความรู้
ยุคต่างๆของการจัดการความรู้
1)ยุคเริ่มต้นของการจัดการความรู้
- เริ่มเมื่อประมาณปี 1978-1979
- ความรู้เป็นสิ่งที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยอาศัยการจัดการที่เป็นระบบ มีโครงสร้างตายตัว
2) ยุคที่สอง
- เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณปี 1995
- มีการแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tacit และ Explicit
- รูปแบบในการสร้างและแลกเปลี่ยนความรู้ เรียกว่า SECI Model ของ Ikujiro Nonaka
- มีการแต่งตั้งตำแหน่ง Chief Knowledge Officer (CKO)
3) ยุคที่สาม
- มองว่าความรู้เป็นเรื่องซับซ้อนยากที่จะจัดเป็นระบบที่แน่นอน
- อาศัยหลักระบบธรรมชาติและระบบซับซ้อน(Complex Adaptive Systems) มาใช้ในกระบวนการจัดการความรู้
- ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมมนุษย์
- ความรู้และการแลกเปลี่ยนจะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้ให้ความรู้สมัครใจที่จะแบ่งปันให้กับผู้อื่น
แนวความคิดของ Thai-UNAids Model (TUNA Model)
2. กระบวนการจัดการความรู้ Knowledge Management Process
ความหมายของกระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ คือกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทําให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งองค์กรจะต้องมองภาพรวมของปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรซึ่งมีขั้นตอนทั้งหมด 7 ขั้นตอนดังจะกล่าวในลำดับต่อไป
กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน
1) การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
7) การเรียนรู้ (Learning)
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เครื่องมือสมัยใหม่ที่ใช้ในการจัดกระทำกับข้อมูลและสารสนเทศเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เมื่อก่อนที่จะมีเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ออกมา บรรดาข้อมูลและสารสนเทศต่างๆมีการผลิตและแพร่กระจายไม่มากมาย ไม่กว้างขวาง ไม่รวดเร็วมากนัก แต่เมื่อมนุษย์คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นมาได้ทำให้การผลิตการจัดกระทำการแพร่กระจาย การจัดเก็บ และดัดแปลงข้อมูลและสารสนเทศถึงยุคที่
เรียกว่า เป็นการระเบิดหรือการทะลักทะลายของข้อมูลสารสนเทศที่เสีย(explosion of information)
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเภทดั้งเดิม (manual tool and technique) ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือประเภทดินสอ ปากกา พู่กัน สี ใช้เขียนตัวอักษรหรือวาดรูป ในสมัย โบราณตั้งแต่ที่มีการจารึกหรือแกะสลักหิน หรือวัตถุแข็งทนทานด้วยเครื่องมือเหล่านี้
ประเภทเครื่องจักรกล (machine tool) เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบกลไกการทำงาน โดยการออกแบบเครื่องมือขึ้นเป็นการเฉพาะ ซึ่งทำงานได้ดีกว่าเครื่องมือแบบแรก สามารถทำซ้ำที่เหมือนเดิมได้และทำได้มากกว่าในการทำงานแต่ละครั้ง ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องอัดสำเนามือหมุน เครื่องพิมพ์ เครื่องบันทึกเสียงยุคแรก กล้องถ่ายรูปฟิล์มกระจก เป็นต้น
ประเภทเครื่องมืออัตโนมัติ (auto-machine) เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยอาศัยกำลังจากระบบกระแสไฟฟ้ามาช่วยทำให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการจัดทำ จึงเกิดการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น พิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องอัดสำเนาไฟฟ้า เครื่องพิมพ์ระบบกำลังไฟฟ้า เทปบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูปอัตโนมัติต่างๆ เป็นต้น
ประเภทเครื่องมือยุคใหม่ (modern I.T.) ได้แก่ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญทำให้สามารถรับ-ส่ง บันทึกหรือเก็บข้อมูลและสารสนเทศ การค้นคืนข้อมูล การแปรผลข้อมูลการจัดกระทำรวมทั้งส่งผ่านหรือถ่ายทอดทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว และผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกันได้ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ และมีบทบาทสูงอย่างยิ่งในการจัดการข้อมูลและสารสนเทศในยุคปัจจุบัน